ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แซนวิช พียู โฟม หลังคา ถนนวงแหวนอุต […]
Category Archives: ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
เขตยานนาวา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด
|
เขตยานนาวา
|
|
---|---|
คำขวัญ: สะพานสวย วัดงาม นามกระเดื่อง เรืองอุตสาหกรรม |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°41′49″N 100°32′35″E | |
อักษรไทย | เขตยานนาวา |
อักษรโรมัน | Khet Yan Nawa |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16.662 ตร.กม. (6.433 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 78,031[1] |
• ความหนาแน่น | 4,683.17 คน/ตร.กม. (12,129.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1012 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 209/1 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 28 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/yannawa |
เขตยานนาวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตคลองเตย มีถนนจันทน์ คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์เก่า ถนนนางลิ้นจี่ ถนนเย็นอากาศ ซอยเชื้อเพลิง 4 (ศรีรุ้ง) และแนวทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระประแดงและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตสาทร มีถนนรัชดาภิเษกและถนนสาธุประดิษฐ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
แต่เดิมบริเวณยานนาวา (รวมสาทรและบางคอแหลม) มีชื่อเรียกว่า “บ้านทะวาย” เนื่องจากมีชาวเมืองทวายอาศัยอยู่จำนวนมาก เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณนี้จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบ้านทะวาย ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระประแดง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร ส่วนการเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวานั้น เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2482 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายชาตินิยม จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอนี้เป็น อำเภอยานนาวา เนื่องจากชื่อบ้านทะวายมีสำเนียงเป็นภาษาต่างด้าว
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอยานนาวาจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตยานนาวา มีพื้นที่การปกครอง 8 แขวง ได้แก่ แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน แขวงทุ่งมหาเมฆ (ปัจจุบันอยู่ในเขตสาทร) แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง (ปัจจุบันอยู่ในเขตยานนาวา) แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม และแขวงวัดพระยาไกร (ปัจจุบันอยู่ในเขตบางคอแหลม)
ต่อมาพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงจัดตั้งสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (ยานนาวา) และสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 2 (บางคอแหลม) ขึ้นดูแลพื้นที่บางส่วนในปี พ.ศ. 2532 และได้ยกฐานะเป็นสำนักงานเขตสาทรและสำนักงานเขตบางคอแหลมในปีเดียวกัน ส่วนวัดยานนาวาและแขวงยานนาวาซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขตนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตสาทร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตยานนาวาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ช่องนนทรี | Chong Nonsi |
9.984
|
48,277
|
32,674
|
4,835.43
|
บางโพงพาง | Bang Phongphang |
6.678
|
29,754
|
18,981
|
4,455.52
|
ทั้งหมด |
16.662
|
78,031
|
51,655
|
4,683.17
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตยานนาวา[2] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนพระรามที่ 3
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
- ถนนสาธุประดิษฐ์
- ถนนนางลิ้นจี่
- ถนนเย็นอากาศ
- ถนนจันทน์
- ถนนยานนาวา (สาธุประดิษฐ์-พระรามที่ 3)
- ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางสายรอง
- ถนนจันทน์เก่า
- ถนนเชื้อเพลิง
- ซอยสาธุประดิษฐ์ 58 (ประดู่)
- สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- สะพานพระราม 9 เชื่อมเขตยานนาวากับเขตราษฎร์บูรณะ
- สะพานภูมิพล 1 เชื่อมเขตยานนาวากับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ