ทางยกระดับอุตราภิมุข แซนวิช พียู โฟม หลังคา ทางยกระดับอ […]
Category Archives: ทางยกระดับอุตราภิมุข
ทางยกระดับอุตราภิมุข
ทางยกระดับอุตราภิมุข is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
เขตหลักสี่
เขตหลักสี่
|
|
---|---|
คำขวัญ: วัดหลักสี่งามวิจิตร แหล่งผลิตว่าวไทย เลื่องลือไกลหัวโขน งามน่ายลเขตหลักสี่ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°53′15″N 100°34′44″E | |
อักษรไทย | เขตหลักสี่ |
อักษรโรมัน | Khet Lak Si |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 22.841 ตร.กม. (8.819 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 104,577[1] |
• ความหนาแน่น | 4,578.47 คน/ตร.กม. (11,858.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1041 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 999 หมู่ที่ 2 ซอยแจ้งวัฒนะ 10 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/laksi |
เขตหลักสี่ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดอนเมือง มีคลองตาอูฐ คลองเปรมประชากร และคลองวัดหลักสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขน มีคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกำหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้นก็ได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “บ้านหลักสี่” ซึ่งชื่อหลักสี่นี้ ได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่ สถานีรถไฟหลักสี่ และสี่แยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตและถนนแจ้งวัฒนะ)
ประวัติศาสตร์[แก้]
เดิมพื้นที่เขตหลักสี่อยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางเขน ต่อมาบริเวณนี้ได้รับการโอนย้ายไปอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตดอนเมือง ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในพื้นที่เขตดอนเมืองมีประชากรหนาแน่นมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครองและการบริหารงานราชการ จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้ง เขตหลักสี่ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตดอนเมืองมาจัดตั้งเป็นพื้นที่ของเขต ปัจจุบันในเขตมีชุมชนทั้งหมด 52 ชุมชน แบ่งเป็นเคหะชุมชน 33 ชุมชน ชุมชนแออัด 11 ชุมชน และชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 8 ชุมชน
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตหลักสี่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ทุ่งสองห้อง | Thung Song Hong |
16.886
|
76,457
|
39,222
|
4,527.83
|
ตลาดบางเขน | Talat Bang Khen |
5.955
|
28,120
|
16,580
|
4,722.08
|
ทั้งหมด |
22.841
|
104,577
|
55,802
|
4,578.47
|
ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ ได้ใช้คลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง 2 แขวงดังกล่าว
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตหลักสี่[2] |
---|
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดสาขาแรกบนถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2537
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตหลักสี่มีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองวัดหลักสี่
- ถนนงามวงศ์วาน (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302)เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองประปา
- ถนนแจ้งวัฒนะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองถนนกับสะพานข้ามคลองประปา
- ทางยกระดับอุตราภิมุข
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนกำแพงเพชร 6
- ถนนพิงคนคร มีไม้กั้นทางที่จะไปชุมชนเคหะ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
- ถนนแสนหวี เป็นถนนที่เลี่ยงไม้กั้นทาง ถนนพิงคนครได้ เมื่อมาถึงบึงใหญ่เลยไป เลี้ยวซ้ายเข้าถนนน่านเจ้าจนถึงคลองประปาจะพบถนนแสนหวี ให้เลาะคลองประปาไปจนเห็นทางตัน ให้เลี้ยวขวาซอยสุดท้าย ไปจนถึงแยกใหญ่ให้เลี้ยวซ้าย จะสามารถเข้าสู่พื้นที่เขตดอนเมืองได้
- ถนนน่านเจ้า อยู่ทิศเหนือของบึงใหญ่ เริ่มจากถนนพิงคนคร ทิศตะวันออกของบึงใหญ่ จนถึงคลองประปา เป็นถนนแสนหวี
- ถนนเกษตร อยู่ด้านขวาของบึงสีกัน สุดมุมบึง เลี้ยวขวาเข้าถนนเกษตร (ซอยเกษตร หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์) ตรงตลอดจนเข้าสู่ถนนสายหลัก ถนนซอยชวนชื่น 15 หมู่บ้านชวนชื่นบางเขน วิ่งตามถนนสายหลักนี้จะเข้าสู่เส้นทางถนนโกสุมรวมใจ และตรงเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนวิภาวดีรังสิต
- ถนนชวนชื่น 15 เป็นถนนสายหลักหมู่บ้านชวนชื่นบางเขน หลักสี่ เป็นถนนของทางเขตหลักสี่ จัดเป็นทางลัดเชื่อมต่อระหว่างถนนสายหลักใหญ่ ๆ คือ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต สามารถวิ่งเข้าออกได้หลายช่องทางทั้งทางฝั่งถนนแจ้งวัฒนะ เข้าทางซอยแจ้งวัฒนะ 10, 12, 14 (เมืองทอง 1) และฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเข้าทางซอยกำแพงเพชร 6 ซอย 5, 7
- ถนนโกสุมรวมใจ
- ถนนชินเขต
- ถนนชิดชน
- ซอยวิภาวดีรังสิต 60 และซอยพหลโยธิน 49/1 (เคหะบางบัว)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดหลักสี่[3]
- ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กองบัญชาการกองทัพไทย
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
- เมืองทองนิเวศน์ 1
- สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)
- สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง
- กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
- กองกำกับการโรงเรียนตำรวจนครบาล
- สโมสรตำรวจ
- โรงเรียนไผทอุดมศึกษา
- โรงเรียนราชวินิตบางเขน