ตำบลท่าทราย แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลท่าทราย แซนวิช พ […]
Category Archives: ตำบลท่าทราย
ตำบลท่าทราย
ตำบลท่าทราย is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
ตำบลท่าทราย เป็นตำบลๆหนึ่งใน 10 ตำบลของอำเภอเมืองนนทบุรี
อำเภอเมืองนนทบุรี
อำเภอเมืองนนทบุรี
|
|
---|---|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°51′44″N 100°30′48″E | |
อักษรไทย | อำเภอเมืองนนทบุรี |
อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Nonthaburi |
จังหวัด | นนทบุรี |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 77.018 ตร.กม. (29.737 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 365,710 |
• ความหนาแน่น | 4,748.37 คน/ตร.กม. (12,298.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 11000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1201 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอเมืองนนทบุรี ซอยรัตนาธิเบศร์ 6 (ศูนย์ราชการ) ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 |
เมืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเมืองนนทบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด มีคลองบางบัวทอง, คลองแม่ร่องกร่าง, คลองวัดแดง, แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางตลาดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหลักสี่และเขตจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร) และอำเภอบางกรวย มีคลองบางเขน, แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา, คลองบางกรวย, คลองธรรมบาล, ถนนบางไผ่พัฒนา, ซอยบางไผ่ ซอย 3 (วัดรวกบางสีทอง), ซอยบางกรวย-ไทรน้อย 30 (วัดรวกบางสีทอง), คลองบางสีทอง, คลองวัดสนาม, ถนนบางศรีเมือง 1, แนวรั้วหมู่บ้านเยาวพรรณ, คลองวัดแดง และคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางใหญ่และอำเภอบางบัวทอง มีคลองวัดยุคันธราวาส, ถนนหลังวัดยุคันธราวาส, ซอยบางกร่าง 25 (หน้าค่าย), ทางหลวงท้องถิ่น นบ.ถ 1-0010 (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการฯ-วัดสวนแก้ว), คลองวัดประชารังสรรค์, คลองอ้อม และคลองบางรักใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอเมืองนนทบุรีในครั้งแรกนั้นมีชื่อว่า อำเภอตลาดขวัญ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏชื่ออำเภอนี้ในชื่อเอกสารที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอนนทบุรี โดยปรากฏชื่อเอกสารเกี่ยวข้องกับชื่ออำเภอนี้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ในตัวอาคารศาลากลางเมืองนนทบุรี ข้างวัดท้ายเมือง ตำบลตลาดขวัญ[3] (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสวนใหญ่)
เนื่องจากอำเภอนนทบุรีมีอาณาเขตกว้างขวาง บางท้องที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอมาก กระทรวงนครบาล (หน่วยงานที่ดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ในมณฑลกรุงเทพขณะนั้น) จึงพิจารณาโอนตำบลท่าอิฐซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปขึ้นกับอำเภอปากเกร็ดในปี พ.ศ. 2463[4] และโอนตำบลบางเลนซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของอำเภอไปขึ้นกับอำเภอบางแม่นางในปี พ.ศ. 2464[5] ณ ปี พ.ศ. 2470 อำเภอนนทบุรีจึงเหลือท้องที่การปกครองอยู่ 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางกระสอ ตำบลท่าทราย ตำบลลาดโตนด ตำบลบางเขน ตำบลบางตะนาวศรี (สวนใหญ่) ตำบลบางไผ่ ตำบลบางสีเมือง (บางศรีเมือง) ตำบลบางกร่าง ตำบลบางข่า ตำบลบางรักน้อย และตำบลไทรม้า[6]
ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนพื้นที่ตำบลลาดโตนดซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของคลองประปาไปขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน[7] เท่ากับว่าแนวเขตการปกครองระหว่างจังหวัดทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากแต่เดิมจังหวัดนนทบุรีมีอาณาเขตด้านตะวันออกติดต่อกับจังหวัดพระนครโดยใช้คลองเปรมประชากรตั้งแต่สี่แยกบางเขนขึ้นไปจนถึงคลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อเป็นเส้นแบ่งเขต[8] ในช่วงนี้อำเภอนนทบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่โรงเรียนราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรีแล้ว (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรี ตำบลสวนใหญ่) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471[3]
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอนนทบุรีเป็น อำเภอเมืองนนทบุรี[9] ทั้งนี้ เนื่องมาจากทางราชการมีนโยบายเปลี่ยนชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งจังหวัดเป็น “อำเภอเมือง…” อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีก็ถูกยุบลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองนนทบุรีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนครและได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอนนทบุรี”[10] จนกระทั่งวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[11] อำเภอนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น “อำเภอเมืองนนทบุรี”[12] ตั้งแต่นั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับตำบลภายในท้องที่อยู่เนือง ๆ เช่น ตำบลบางไผ่ถูกยุบรวมเข้ากับตำบลบางศรีเมือง ตำบลบางข่าถูกยุบรวมเข้ากับตำบลบางกร่าง เป็นต้น จนกระทั่งในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตำบลขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางศรีเมืองมาจัดตั้งเป็นตำบลบางไผ่ และรวมพื้นที่บางส่วนจากตำบลไทรม้าและบางกร่างมาจัดตั้งเป็นตำบลบางรักน้อย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน[13] อำเภอเมืองนนทบุรีจึงแบ่งออกเป็น 10 ตำบลจนถึงทุกวันนี้
เมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่ว่าการอำเภอเมืองนนทบุรีได้ย้ายที่ตั้งอีกครั้งหนึ่งจากบริเวณโรงเรียนราชวิทยาลัยเดิม ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ใกล้สี่แยกแคราย หมู่ที่ 8 ตำบลบางกระสอ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเมืองนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 10 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 32 หมู่บ้าน (หรือ 26 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมืองซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่
1. | สวนใหญ่ | (Suan Yai) | ยกเลิกระบบหมู่ | 6. | บางไผ่ | (Bang Phai) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||
2. | ตลาดขวัญ | (Talat Khwan) | ยกเลิกระบบหมู่ | 7. | บางศรีเมือง | (Bang Si Mueang) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||
3. | บางเขน | (Bang Khen) | ยกเลิกระบบหมู่ | 8. | บางกร่าง | (Bang Krang) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||
4. | บางกระสอ | (Bang Kraso) | ยกเลิกระบบหมู่ | 9. | ไทรม้า | (Sai Ma) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||
5. | ท่าทราย | (Tha Sai) | ยกเลิกระบบหมู่ | 10. | บางรักน้อย | (Bang Rak Noi) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครนนทบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในอำเภอเมืองนนทบุรีฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ตำบลสวนใหญ่ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางเขน ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทรายทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองบางศรีเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางศรีเมืองทั้งตำบลและตำบลบางกร่าง (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 3, 9)
- เทศบาลตำบลไทรม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรม้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไผ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกร่าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักน้อยทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
รถยนต์[แก้]
ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่
- ถนนประชาราษฎร์ เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ตัดผ่านสี่แยกศรีพรสวรรค์ สิ้นสุดที่บริเวณหอนาฬิกาท่าน้ำนนทบุรี
- ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301) เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ตัดผ่านตำบลบางเขน เข้าสู่เขตบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร) ตัดผ่านสี่แยกวงศ์สว่าง ไปสิ้นสุดที่สามแยกเตาปูน
- ถนนงามวงศ์วาน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) เริ่มตั้งแต่สี่แยกแคราย สี่แยกพงษ์เพชร เข้าสู่เขตหลักสี่และเขตจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) ผ่านสี่แยกบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกเกษตร
- ถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) เริ่มตั้งแต่สี่แยกแคราย ผ่านศูนย์ราชการจังหวัด ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดผ่านสี่แยกบางพลู (อำเภอบางบัวทอง) ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ (ถนนกาญจนาภิเษก)
- ถนนพิบูลสงคราม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) เริ่มตั้งแต่สี่แยกศรีพรสวรรค์ ตัดผ่านตำบลสวนใหญ่ เข้าสู่เขตบางซื่อ ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สิ้นสุดที่สามแยกพิบูลสงคราม
- ถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ผ่านสี่แยกแคราย ห้าแยกปากเกร็ด ท้องที่อำเภอปากเกร็ด เข้าสู่อำเภอเมืองปทุมธานี (จังหวัดปทุมธานี) ไปสิ้นสุดที่ถนนรังสิต-ปทุมธานี
- ถนนนนทบุรี 1 เริ่มตั้งแต่บริเวณใกล้ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านเรือนจำจังหวัดนนทบุรี (บางขวาง) วัดท้ายเมือง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สิ้นสุดที่สี่แยกสะพานพระนั่งเกล้า (ถนนรัตนาธิเบศร์)
- ถนนสนามบินน้ำ เชื่อมระหว่างสี่แยกสะพานพระนั่งเกล้ากับสามแยกสนามบินน้ำ (ถนนติวานนท์)
- ถนนประชาชื่น เริ่มตั้งแต่สามแยกประชาชื่น เลียบคลองประปา ผ่านสี่แยกประชานุกูล (เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร) เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรีที่ตำบลบางเขน ตัดผ่านสี่แยกพงษ์เพชร สามแยกสามัคคี-ประชาชื่น เข้าสู่อำเภอปากเกร็ด สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ
- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3215) เริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 7 ผ่านอำเภอบางกรวย เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรีที่ตำบลบางกร่าง จากนั้นเข้าท้องที่อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และสิ้นสุดที่อำเภอไทรน้อย
- ถนนนครอินทร์ เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ผ่านตำบลตลาดขวัญ ตำบลสวนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ตำบลบางไผ่ ตำบลบางศรีเมือง จากนั้นเข้าสู่เขตอำเภอบางกรวย ตัดกับถนนราชพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียง (ถนนกาญจนาภิเษก)
- ถนนราชพฤกษ์ เริ่มตั้งแต่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) เข้าสู่เขตจอมทอง ตัดผ่านถนนเพชรเกษมที่เขตภาษีเจริญ ตัดผ่านถนนบรมราชชนนีที่เขตตลิ่งชัน ตัดกับถนนนครอินทร์ที่อำเภอบางกรวย เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรี ตัดผ่านถนนบางกรวย-ไทรน้อยและถนนรัตนาธิเบศร์ เข้าเขตอำเภอปากเกร็ด ไปสิ้นสุดที่ถนนบางบัวทอง-ปทุมธานี
- ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี เริ่มตั้งแต่ถนนพิบูลสงครามใต้ตัวจังหวัดเก่า ตัดผ่านถนนประชาราษฎร์ที่ตำบลตลาดขวัญ อ้อมตัวจังหวัดเก่า ไปสิ้นสุดที่ถนนนนทบุรี 1 เหนือตัวจังหวัดเก่า
- ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี-สนามบินน้ำ เริ่มตั้งแต่ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีใกล้ตลาด อตก.3 เก่า ตัดผ่านถนนรัตนาธิเบศร์ที่ตำบลบางกระสอ ไปสิ้นสุดที่ถนนสนามบินน้ำที่ตำบลท่าทราย
ถนนสายรอง ได้แก่ ถนนเรวดี (ตำบลตลาดขวัญ) ถนนสามัคคี (ตำบลท่าทราย) ถนนบางศรีเมือง ถนนบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ดอนพรหม (ตำบลบางศรีเมืองและตำบลบางกร่าง)
ปัจจุบัน อำเภอเมืองนนทบุรีมีทางพิเศษ 1 สาย คือ ทางพิเศษศรีรัช และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง คือ สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระราม 5 สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า และสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์
ทางน้ำ[แก้]
การสัญจรทางน้ำยังคงมีความสำคัญอยู่มากในอำเภอเมืองนนทบุรี โดยเฉพาะสำหรับผู้คนที่ต้องเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนและต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรทางบกที่ติดขัด ปัจจุบันมีเส้นทางเดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา (เริ่มตั้งแต่อำเภอปากเกร็ด ผ่านอำเภอเมืองนนทบุรี ไปยังกรุงเทพมหานคร) และในคลองอ้อม
ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา[แก้]
- กระทรวงพาณิชย์
- ท่าน้ำนนทบุรี
- บางศรีเมือง
- พิบูลสงคราม 2
- วัดเขียน
- วัดตึก
- วัดเขมาภิรตาราม
- พิบูลสงคราม 1
สถานที่สำคัญ[แก้]
- เรือนจำกลางบางขวาง
- ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์
- กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในสังกัด ตั้งอยู่ริมถนนนนทบุรี 1
- กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในสังกัด ตั้งอยู่ในซอยติวานนท์ 4 และซอยติวานนท์ 14 ถนนติวานนท์
- กรมพลาธิการทหารบก กองบัญชาการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ตั้งอยู่ริมถนนติวานนท์
- แขวงทางหลวงนนทบุรี กรมทางหลวง ตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ เชิงสะพานพระนั่งเกล้า
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ ตรงข้ามศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
ท่าทราย แผ่นคลอบต่างๆ ย้ำโค้งปลาย ติดฉนวนพีอี สะกรู ท่า […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
- 1
- 2