ตำบลบ้านแพ้ว แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลบ้านแพ้ว แซนวิช […]
Category Archives: อำเภอบ้านแพ้ว
อำเภอบ้านแพ้ว
อำเภอบ้านแพ้ว is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
งหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร | ||||
---|---|---|---|---|
|
||||
เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์ |
||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||
อักษรไทย | สมุทรสาคร | |||
อักษรโรมัน | Samut Sakhon | |||
ชื่อไทยอื่น ๆ | มหาชัย, บ้านท่าจีน, สาครบุรี | |||
ผู้ว่าราชการ | วีรศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2562) |
|||
ข้อมูลสถิติ | ||||
พื้นที่ | 872.347 ตร.กม.[1] (อันดับที่ 73) |
|||
ประชากร | 568,465 คน[2] (พ.ศ. 2560) (อันดับที่ 43) |
|||
ความหนาแน่น | 662.53 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 6) |
|||
ISO 3166-2 | TH-74 | |||
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | ||||
ต้นไม้ | พญาสัตบรรณ | |||
ดอกไม้ | ไม่มี | |||
ศาลากลางจังหวัด | ||||
ที่ตั้ง | ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 | |||
โทรศัพท์ | 0 3441 1251, 0 3442 7387 | |||
เว็บไซต์ | จังหวัดสมุทรสาคร | |||
แผนที่ | ||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
สมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมุทรสาครเดิมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีชาวจีนนำเรือสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและได้พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า บ้านท่าจีน ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2099) ได้โปรดให้ยกฐานะบ้านท่าจีนขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลในช่วงสงคราม และเป็นเมืองด่านหน้าป้องกันผู้รุกรานทางทะเล[3]
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระราชดำริที่จะทรงปฏิรูปการปกครองบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และมีพระราชดำริที่จะสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล โดยเรียกว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม ถือได้ว่าเป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในหัวเมืองเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) (พ.ศ. 2456) โปรดเกล้าให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร “เมืองสมุทรสาคร” จึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร มาจวบจนปัจจุบัน[3]
ส่วนคำว่า มหาชัย ที่เรียกกันโดยทั่วไปนั้น เป็นชื่อคลองที่สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดจากเมืองธนบุรี เป็นแนวตรงไปออกปากน้ำเมืองสาครบุรีแทนคลองโคกขามที่คดเคี้ยว แต่ยังไม่ทันเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 ได้โปรดให้ขุดคลองต่อจนแล้วเสร็จ และได้พระราชทานนามว่าคลองมหาชัย ซึ่งต่อมา ณ บริเวณฝั่งซ้ายปากคลองได้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นชื่อว่า “มหาชัย” และเป็นที่นิยมเรียกขานแต่นั้นเป็นต้นมา[3]
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเลอ่าวไทย มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่ากลางจังหวัด เป็นจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยประมาณเส้นรุ้งที่ 13 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก เป็นจังหวัดปริมณฑล มีพื้นที่ติดกับเขตหนองแขม เขตบางบอน และเขตบางขุนเทียนของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 872.347 ตารางกิโลเมตร[3]
- ทิศเหนือ ติดกับอำเภอสามพราน (จังหวัดนครปฐม)
- ทิศตะวันออก ติดกับเขตหนองแขม เขตบางบอน และเขตบางขุนเทียน (กรุงเทพมหานคร)
- ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอบางแพ อำเภอดำเนินสะดวก (จังหวัดราชบุรี) และอำเภอเมืองสมุทรสงคราม (จังหวัดสมุทรสงคราม)
ภูมิประเทศ[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1.00 – 2.00 เมตร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางจังหวัด ไหลคดเคี้ยวจากแนวเหนือลงใต้สู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ระยะทางยาวประมาณ 70 กิโลเมตร พื้นที่ตอนบนในเขตอำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบน มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและมีโครงข่ายแม่น้ำลำคลองเชื่อมโยงถึงกันกระจายอยู่ทั่วพื้นที่กว่า 170 สาย จึงเหมาะที่จะทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิด และบางส่วนเป็นย่านธุรกิจ อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครอยู่ติดชายฝั่งทะเลยาว 41.8 กิโลเมตร จึงเหมาะที่จะประกอบอาชีพประมงทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและทำนาเกลือ ในช่วงฤดูฝนบางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเกษตร[3]
ภูมิอากาศ[แก้]
จังหวัดสมุทรสาคร มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบฝนเมืองร้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมบก ลมทะเล และมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านในช่วงฤดูร้อน จึงทำให้มีความชื้นในอากาศสูง มีฝนตกปานกลาง ปริมาณเฉลี่ย 1,120 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28°C – 34°C มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด 50% สูงสุด 95%[3]
การปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ, 40 ตำบล, และ 290 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้คือ
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
- เทศบาลนคร 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครสมุทรสาครและเทศบาลนครอ้อมน้อย
- เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองกระทุ่มแบนและเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ
- เทศบาลตำบล 10 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล 23 แห่ง
ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] |
อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2561) [4] |
||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||
เทศบาลนคร | ||||||||
1 |
10.33
|
2542 | เมืองสมุทรสาคร | 3 | – | 3 |
68,579
|
|
2 |
30.58
|
2553 | กระทุ่มแบน | 1 | – | 1 |
53,918
|
|
เทศบาลเมือง | ||||||||
3 (1) |
2.18
|
2538[5] | กระทุ่มแบน | 1 | – | 1 |
27,785
|
|
4 (2) |
14.74
|
2562[6] | กระทุ่มแบน | 1 | – | 1 |
21,896
|
|
เทศบาลตำบล | ||||||||
5 (1) |
5.63
|
2542 | เมืองสมุทรสาคร | – | 1 | 1 |
6,543
|
|
6 (2) |
0.76
|
2542 | บ้านแพ้ว | – | 2 | 2 |
3,241
|
|
7 (3) |
18.40
|
2542 | บ้านแพ้ว | 1 | 1 | 2 |
5,121
|
|
8 (4) |
125.57
|
2542 | บ้านแพ้ว | 4 | – | 4 |
41,643
|
|
9 (5) |
23.817
|
2551 | เมืองสมุทรสาคร | 1 | – | 1 |
27,280
|
|
10 (6) |
12.67
|
2551 | เมืองสมุทรสาคร | 1 | – | 1 |
12,417
|
|
11 (7) |
30.58
|
2551 | เมืองสมุทรสาคร | 1 | – | 1 |
24,807
|
|
12 (8) |
16.95
|
2551 | กระทุ่มแบน | 1 | – | 1 |
33,408
|
|
13 (9) |
8.28
|
2554 | กระทุ่มแบน | 1 | – | 1 |
7,726
|
|
14 (10) |
9.70
|
2562 | กระทุ่มแบน | 1 | – | 1 |
8,369
|
- ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เป็นรูปเรือสำเภาจีนแล่นในทะเล ด้านหลังเป็นโรงงานและปล่องไฟ ซึ่งหมายถึงความรุ่งเรืองที่มีมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มใช้เมื่อพุทธศักราช 2483 ในสมัยที่หลวงวิเศษภักดี (ชื้น วิเศษภักดี) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด[3]
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris)
เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของชาวจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูก เป็นปฐมฤกษ์ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร[3]
เศรษฐกิจ[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครเป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจที่มีศักยภาพทั้งทางด้านการอุตสาหกรรม การประมง และการเกษตรกรรม จากข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด (GPP) ประจำปี ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสมุทรสาครชะลอตัวจากปีก่อน เนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินโลกที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการภายในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง แต่อย่างไรก็ดี จังหวัดสมุทรสาครยังเป็นจังหวัด 1 ใน 10 ของจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงตลอดมา
ในปี 2555 จังหวัดสมุทรสาครมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เท่ากับ 319,406 ล้านบาท เป็นอันดับที่ 7 ของประเทศ และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว เท่ากับ 351,516 บาท เป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ[3]
การเกษตร[แก้]
สภาพทั่วไปของจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ราบลุ่มสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1-2 เมตร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่จากทางด้านเหนือไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร มีคลองชลประทานจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพื่อการคมนาคมและเพื่อการชลประทาน ทำให้การใช้ที่ดินครึ่งหนึ่งของจังหวัดเป็นไปเพื่อการเกษตรกรรม
ทางด้านทิศเหนือของจังหวัดจะเป็นพื้นที่การเกษตร ซึ่งประกอบด้วย นาข้าว และสวนผลไม้ โดยสวนผลไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะพื้นที่ดินที่อยู่ใกล้คลองดำเนินสะดวก และคลองภาษีเจริญ จะมีการปลูกไม้ยืนต้น ผักผลไม้เป็นจำนวนมาก เช่น มะพร้าว ปาล์ม
ทางทิศใต้ เป็นบริเวณที่ราบและน้ำทะเลท่วมถึง มีสภาพเป็นป่าชายเลนและมีการทำนาเกลือ ซึ่งในเวลาต่อมาป่าชายเลนได้ถูกทำลายลงจนเหลือพื้นที่ป่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการทำนาเกลือได้เปลี่ยนมาทำการเลี้ยงกุ้งเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของพื้นที่บริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงมีการทำสวนมะพร้าวเป็นจำนวนมาก
จังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ทำการเกษตร 90,061 ไร่ จำนวนเกษตรกร 11,333 ราย แยกเป็นพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร 942 ราย 5,595 ไร่ อำเภอกระทุ่มแบน 2,798 ราย 19,183 ไร่ อำเภอบ้านแพ้ว 7,593 ราย 65,282 ไร่ พื้นเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กล้วยไม้ มีพื้นเพาะปลูก 4,198 ไร่ มะนาวมีพื้นที่เพาะปลูก 18,211 ไร่ ไม้ผลมีพื้นที่เพาะปลูก 63,279 ไร่ พืชผักมีพื้นที่เพาะปลูก 5,697 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับมีพื้นที่เพาะปลูก 6,391 ไร่[3]
การอุตสาหกรรม[แก้]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 – 2553 จังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 4,965 แห่ง เงินลงทุน 446,870 ล้านบาท จำนวนการจ้างแรงงาน 381,476 คน เป็นโรงงานจำพวกที่ 2 (โรงงานที่มีแรงม้าไม่เกิน 50 แรงม้า คนงานไม่เกิน 7 คน และจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบก่อนประกอบกิจการ) จำนวน 324 โรงงาน เงินลงทุน 1,933 ล้านบาท จำนวนการจ้างแรงงาน 4,901 คน และโรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานที่มีแรงม้าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไปคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป และจะต้องได้รับอนุญาตก่อนถึงจะประกอบกิจการโรงงานได้) จำนวน 4,641 โรงงาน เงินลงทุน 444,938 ล้านบาท จำนวนการจ้างงาน 376,575 คน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กจำนวน 3,919 โรงงาน และโรงงานขนาดกลางจำนวน 758 โรงงาน ในจังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 277 โรงงาน ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่ขออนุญาตประกอบการมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ (18.32%) อุตสาหกรรมพลาสติก (14.52%) อุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปอาหาร (10.09%) อุตสาหกรรมสิ่งทอ (9.55%)[3]
การประมง[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครมีชายฝั่งทะเลยาว 41.8 กิโลเมตร จึงมีการประกอบอาชีพ ทำการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอาชีพหลัก ผลผลิตจากการประมงทะเลส่วนใหญ่ได้รับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ บริเวณอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งทะเลด้านประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ ชาวประมงจังหวัดสมุทรสาคร ยังได้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย โดยมีเรือประมงทะเล ที่เป็นเรือบรรทุกห้องเย็นขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำ ที่ไปร่วมทำการประมง ในน่านน้ำต่างประเทศ เช่น พม่า อินโดนีเซีย เวียดนามไปจนถึงประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น โซมาเลีย เยเมน ซึ่งวัตถุดิบที่จับได้จะเป็นปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาหมึก โดยเรือบรรทุกขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำ (เรือแม่) จะนำสินค้าสัตว์น้ำกลับขึ้นฝั่ง โดยมีท่าเทียบเรือและรถตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนแพปลาจำนวนมากรองรับ [3]
แรงงาน[แก้]
ในปี 2552 จังหวัดสมุทรสาครมีประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 366,896 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ จำนวน 363,407 คน และผู้ว่างงานหรือไม่มีงานทำ จำนวน3,489 คน ในส่วนของผู้มีงานทำเป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 5.10 (18,557 คน) และผู้ที่ทำงานอยู่นอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 94.89 (344,850 คน) โดยกลุ่มผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุดร้อยละ 57.57 (198,522คน)[3]
การขนส่ง[แก้]
จังหวัดสมุทรสาครมีการขนส่งทั้งทางถนน ทางราง และทางน้ำ ถนนสายสำคัญในจังหวัด เช่น ถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35), ถนนเศรษฐกิจ 1 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091), ถนนเอกชัย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3242), ถนนบ้านแพ้ว–พระประโทน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375), ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4), ถนนพุทธสาคร เป็นต้น
รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ได้แก่ สาย 7 สมุทรสาคร–หัวลำโพง, สาย 68 สมุทรสาคร–บางลำภู, และสาย 105 มหาชัยเมืองใหม่–คลองสาน นอกจากนี้ ยังมีรถสองแถวสีส้ม ปิ่นทอง–มหาชัย, รถสองแถวสีเหลือง เคหะชุมชนธนบุรี–มหาชัย, รถเมล์สีส้ม สาย 402 นครปฐม–กระทุ่มแบน–มหาชัย, และรถเมล์สีแดง 481 สมุทรสงคราม–สมุทรสาคร ส่วนการขนส่งทางรางมีทางรถไฟสายแม่กลอง เริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่สถานีรถไฟมหาชัย และเริ่มต้นอีกช่วงหนึ่งที่สถานีรถไฟบ้านแหลม ต่อไปยังจังหวัดสมุทรสงคราม
ส่วนรถโดยสารประจำทางในพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย ได้แก่ รถเมล์สาย 81 อ้อมน้อย–ปิ่นเกล้า, สาย 84 อ้อมใหญ่/สามพราน/วัดไร่ขิง–คลองสาน, สาย 123 อ้อมใหญ่–สนามหลวง, สาย 157 อ้อมใหญ่–หมอชิต, สาย 170 อ้อมใหญ่–หมอชิต, สาย 183 อ้อมใหญ่–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สาย 189 กระทุ่มแบน–บางกอกใหญ่, และสาย 539 อ้อมน้อย–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ศาลพันท้ายนรสิงห์
- ตลาดมหาชัย
- มหาชัยเมืองใหม่
- คลองโคกขาม
- วัดโคกขาม
- วัดใหญ่จอมปราสาท
- วัดโกรกกราก
- วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
- วัดสุทธิวาตวราราม
- วัดป่าชัยรังสี
- วัดบางปลา
- วัดบางปิ้ง
- วัดนางสาว
- วัดท่าไม้
- วัดเกตุมดีศรีวราราม
- วัดโรงเข้
- ป้อมวิเชียรโชฎก
- ศาลหลักเมืองจังหวัดสมุทรสาคร
- ปล่องเหลี่ยม
- พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
- สถานีรถไฟมหาชัย
- ท่าฉลอม
- หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี
- ตลาดน้ำหลักห้า
- วัดหนองนกไข่
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- ด้านศาสนา
- พระสุนทรศีลสมาจาร (ผล คุตฺตจิตฺโต) – เจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร
- พระพรหมกวี (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ) – พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เจ้าคณะภาค 13 เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
- พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) – พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
- พระเทพวิมลมุนี (กฤช กิตฺติวํโส) – เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
- การเมือง-ภาครัฐ
- พงศ์เทพ เทพกาญจนา – รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 60)
- พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ – อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- สื่อมวลชน
- กำพล วัชรพล – ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ – ผู้ประกาศข่าวช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี , สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 , ช่องวัน
- ศิลปิน
- ชาติ กอบจิตติ – ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- ชาลี อินทรวิจิตร – ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
- กีฬา
- นิยม ประเสริฐสม – นักกีฬามวยสากล
- ธงชัย เทพธานี – นักกีฬามวยสากล
- วงการบันเทิง
- พศุตม์ บานแย้ม – นักแสดง
- วิโรจน์ ทองชิว – ผู้กำกับ
- บุตรศรัณย์ ทองชิว – นักแสดง นักร้อง
- มนัญญา เกาะจู (นิ้ง) – ไอดอลวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
ตำบลคลองตัน แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลคลองตัน แซนวิช พ […]
หลังคา แซนวิช พียู โฟม อำเภอบ้านแพ้ว หลังคา แซนวิช พียู […]
- 1
- 2