ถนนบางบอน 4 แซนวิช พียู โฟม หลังคา ถนนบางบอน 4 แซนวิช พ […]
Category Archives: ถนนบางบอน 4
ถนนบางบอน 4
ถนนบางบอน 4 is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
เขตบางบอน
เขตบางบอน
|
|
---|---|
คำขวัญ: หลวงพ่อขาวทรงฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อเกษร งามนคเรศเขตบางบอน สมุทรสาครชิดชายแดน ถนนวงแหวนคู่อุตสาหกรรม น้อมนำเกษตรพอเพียง | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°39′50″N 100°24′32″E | |
อักษรไทย | เขตบางบอน |
อักษรโรมัน | Khet Bang Bon |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 34.745 ตร.กม. (13.415 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 106,919[1] |
• ความหนาแน่น | 3,077.24 คน/ตร.กม. (7,970.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1050 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 1 ซอยเอกชัย 135/1 (เสือโต) ถนนเอกชัย แขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/bangbon |
เขตบางบอน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหนองแขม เขตบางแค และเขตภาษีเจริญ มีคลองหนามแดงและคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตจอมทอง มีคลองวัดสิงห์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาครและอำเภอกระทุ่มแบน (จังหวัดสมุทรสาคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาครเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
บางบอนในอดีตเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหลักฐานเป็นวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึง ได้แก่ โคลงนิราศทวาย (โคลงนิราศไปแม่น้ำน้อย) ของพระพิพิธสาลีในสมัยรัชกาลที่ 1[2] โคลงนิราศนรินทร์ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ในสมัยรัชกาลที่ 2[3] และนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 4[4][5] ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บางบอนจึงกลายมาเป็นท้องที่การปกครองของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยในพื้นที่แถบนี้รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงมีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครองหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบรวมท้องที่ตำบลบางบอนเหนือ ตำบลบางบอนใต้ และตำบลแสมดำเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ตำบลบางบอน ขึ้น[6]
ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลบางบอนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางบอน และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน
ภายหลังในเขตบางขุนเทียนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกพื้นที่แขวงบางบอนออกจากเขตบางขุนเทียนตั้งเป็น เขตบางบอน โดยสำนักงานเขตบางบอนได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[9] เป็นสำนักงานเขตลำดับที่ 50 ของกรุงเทพมหานคร เดิมตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสดเทพยดาอารักษ์ หมู่ที่ 4 แขวงบางบอน[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรที่ซอยเอกชัย 135/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางบอน[10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางบอนและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 4 แขวง โดยมีถนนเอกชัยและถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขต[11] โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตบางบอนในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางบอนเหนือ | Bang Bon Nuea |
22,472
|
9,941
|
||
บางบอนใต้ | Bang Bon Tai |
25,231
|
9,248
|
||
คลองบางพราน | Khlong Bang Phran |
33,492
|
17,326
|
||
คลองบางบอน | Khlong Bang Bon |
25,724
|
13,724
|
||
ทั้งหมด |
34.745
|
106,919
|
50,239
|
3,077.24
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางบอน[12] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางบอน ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- กองกำกับการตำรวจม้า
- เรือนจำพิเศษธนบุรี
- ทัณฑสถานหญิงธนบุรี
- สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 7
- วัดบางบอน
- โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
- โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก
ทางน้ำ[แก้]
|
|
เศรษฐกิจ[แก้]
เกษตรกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในเขตนี้ พืชที่ปลูกได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน มะพร้าว กล้วยไม้ และดอกบัว เป็นต้น[13]