ถนนเยาวพานิช แซนวิช พียู โฟม หลังคา ถนนเยาวพานิช แซนวิช […]
Category Archives: ถนนเยาวพานิช
ถนนเยาวพานิช
ถนนเยาวพานิช is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
เขตสัมพันธวงศ์
เขตสัมพันธวงศ์
|
|
---|---|
คำขวัญ: พระทองคำล้ำค่า ซุ้มประตูจีนงามตา แหล่งการค้าทองคำ สืบสานวัฒนธรรมไทย-จีน เที่ยวชิมสตรีตฟู้ดเยาวราช สำเพ็งตลาดเก่า ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์[1] | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′53″N 100°30′51″E | |
อักษรไทย | เขตสัมพันธวงศ์ |
อักษรโรมัน | Khet Samphanthawong |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1.416 ตร.กม. (0.547 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 23,655[2] |
• ความหนาแน่น | 16,705.50 คน/ตร.กม. (43,267.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10100 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1013 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 37 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/samphanthawong |
เขตสัมพันธวงศ์ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางรัก มีคลองผดุงกรุงเกษม เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตนี้เป็นสถานที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พวกเขาได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน โดยมีถนนวานิช 1 หรือ “ถนนสำเพ็ง” เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2435 ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางชาวจีนจนถึงปัจจุบัน
อำเภอสัมพันธวงศ์ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนทรงวาดตัดกับถนนปทุมคงคา ตำบลศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งอยู่ในเขตวัดสัมพันธวงศาราม จึงสันนิษฐานได้ว่าอำเภอสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายไปตั้งที่ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล
ต่อมาได้มีการยุบรวม “อำเภอสามแยก” ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตึกแถวสี่แยกถนนทรงวาดกับถนนเยาวราช มีเขตปกครอง 6 ตำบล และ “อำเภอจักรวรรดิ” ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ข้างสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ มีเขตปกครอง 18 ตำบล มาขึ้นกับอำเภอสัมพันธวงศ์ แล้วแบ่งเขตปกครองใหม่ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสัมพันธวงศ์ ตำบลจักรวรรดิ และตำบลตลาดน้อย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดการบริหารราชการใหม่ในเขตนครหลวง อำเภอสัมพันธวงศ์ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตสัมพันธวงศ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
จักรวรรดิ | Chakkrawat |
0.484
|
7,322
|
5,038
|
15,128.09
|
สัมพันธวงศ์ | Samphanthawong |
0.483
|
8,740
|
4,415
|
18,095.23
|
ตลาดน้อย | Talat Noi |
0.449
|
7,593
|
3,753
|
16,910.91
|
ทั้งหมด |
1.416
|
23,655
|
13,206
|
16,705.50
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสัมพันธวงศ์[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายสำคัญในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
ถนนเยาวราช[แก้]
ถนนเยาวราช มีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยเกือบตลอดถนนทั้งสายจะเต็มไปด้วยร้านขายทองและร้านอาหาร และเป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยมากที่สุดในประเทศไทย
ในปัจจุบันมีประตูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไชนาทาวน์อยู่ ซึ่งได้สร้างเนื่องในพระราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฉลองพระชนมายุครบ 6 รอบ ตั้งอยู่กลางวงเวียนโอเดียน สุดถนนเยาวราช
วัดและศาลเจ้า[แก้]
วัดและศาลเจ้าที่สำคัญ ได้แก่
|
สถานที่สำคัญอื่น ๆ[แก้]
|
|
เทศกาล[แก้]
ในช่วงเทศกาล ถนนเยาวราชจะปิดทั้งสาย