ตำบลทุ่งกระพังโหม แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลทุ่งกระพัง […]
Category Archives: ตำบลทุ่งกระพังโหม
ตำบลทุ่งกระพังโหม
ตำบลทุ่งกระพังโหม is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
อำเภอกำแพงแสน
อำเภอกำแพงแสน
|
|
---|---|
คำขวัญ: เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐพีแห่งความร่มเย็น |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°59′2″N 99°59′38″E | |
อักษรไทย | อำเภอกำแพงแสน |
อักษรโรมัน | Amphoe Kamphaeng Saen |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 405.019 ตร.กม. (156.379 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 129,548 |
• ความหนาแน่น | 319.85 คน/ตร.กม. (828.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73140, 73180 (เฉพาะตำบลกระตีบ ห้วยม่วง สระพัฒนา และหมู่ที่ 1, 3-5, 11, 14, 16, 22-23 ตำบลสระสี่มุม) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7302 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน หมู่ที่ 1 ถนนมาลัยแมน ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 |
กำแพงแสน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
อำเภอกำแพงแสนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเลนและอำเภอดอนตูม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่ามะกา (จังหวัดกาญจนบุรี)
ประวัติศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
ในอดีตอำเภอกำแพงแสนเป็น เมืองกำแพงแสน (มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11–16) ซึ่งเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองนครไชยศรีมากกว่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่อย่างอิสระ ตำแหน่งกลางเมืองเก่าอยู่ที่ประมาณเส้นรุ้งที่ 13 องศา 39 ลิปดา 20 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวง 99 องศา 57 ลิปดา 57 พิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีขนาดเล็กและตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองนครไชยศรี คือมีระยะห่างกันประมาณ 24 กิโลเมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมือง คือเมืองอู่ทองและเมืองนครไชยศรี
ปัจจุบันบริเวณเมืองเก่ากำแพงแสนเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งใช้เป็นค่ายลูกเสือ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
อำเภอกำแพงแสนได้ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2449 ที่วัดห้วยพระ ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม โดยใช้ชื่อว่า อำเภอกำแพงแสน ตั้งตามชื่อเมืองโบราณ ต่อมาได้ปี พ.ศ. 2453เมื่อประสพภัยแล้งไม่สะดวกในการสัญจรเพราะในอดีตใช้เรือเป็นหลักจึงได้ย้ายที่ตั้งอำเภอใหม่จากวัดห้วยพระไปที่ชายทุ่งสามแก้ว ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจาก กำแพงแสน มาเป็น “อำเภอนาจอำนวย” หรือชาวบ้านเรียกตามชื่อหมู่บ้านว่า อำเภอสามแก้ว ตั้งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2460 [1]ได้ย้ายที่ว่าการ อำเภอนาถอำนวย จากที่ตั้งชายทุ่งสามแก้ว มาตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่ริมคลองท่าสาร-บางปลา บริเวณบ้านยาง ติดถนนมาลัยแมน (ถนนนครปฐม-สุพรรณบุรี) หมู่ที่ 13 ตำบลทุ่งกระพังโหม ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร และส่วนที่ตั้งของ (อำเภอนาถอำนวย) หรือ อำเภอ สามแก้ว
ปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนบ้านสามแก้ว(นาถอำนวยวิทย์)[2] และเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสนไปสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ ที่ดินที่ราษฎรได้บริจาคให้ริมถนนมาลัยแมน ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงข้ามโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ส่วนที่ตั้งเดิมได้ใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงแสนส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึงปัจจุบัน
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลห้วยด้วน แยกออกจากตำบลห้วยพระ ตั้งตำบลห้วยขวาง แยกออกจากตำบลลำเหย ตั้งตำบลดอนรวก แยกออกจากตำบลดอนพุทรา ตั้งตำบลบ้านหลวง แยกออกจากตำบลดอนพุทรา[3]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกำแพงแสน ในพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งกระพังโหม (ในขณะนั้น)[4]
- วันที่ 9 กันยายน 2502 โอนพื้นที่ตำบลสระสี่มุม ตำบลกระตีบ และบางส่วนของตำบลดอนข่อย (หมู่ที่ 1-4, 6-10 ในขณะนั้น) จากอำเภอบางเลน มาขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[5]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2502 เปลี่ยนแปลงพื้นที่ตำบลดอนข่อย โดยท้องที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับตำบลหินมูล อำเภอบางเลน[6]
- วันที่ 1 มกราคม 2509 แยกพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลห้วยพระ ตำบลลำเหย ตำบลดอนพุทรา ตำบลบ้านหลวง ตำบลดอนรวก และตำบลห้วยด้วน อำเภอกำแพงแสน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอนตูม ขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[7]
- วันที่ 1 มกราคม 2510 ตั้งตำบลสระพัฒนา แยกออกจากตำบลสระสี่มุม[8]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลทุ่งบัว แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[9]
- วันที่ 1 มีนาคม 2512 ยกฐานะกิ่งอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน เป็น อำเภอดอนตูม[10]
- วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลห้วยหมอนทอง แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[11]
- วันที่ 14 กันยายน 2532 ตั้งตำบลห้วยม่วง แยกออกจากตำบลกระตีบ[12]
- วันที่ 19 มิถุนายน 2533 ตั้งตำบลกำแพงแสน แยกออกจากตำบลทุ่งกระพังโหม[13]
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 ตั้งตำบลรางพิกุล แยกออกจากตำบลทุ่งบัว[14]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลหนองกระทุ่ม แยกออกจากตำบลทุ่งลูกนก[15]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2536 ตั้งตำบลวังน้ำเขียว แยกออกจากตำบลทุ่งกระพังโหม[16]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกำแพงแสนเป็นเทศบาลตำบลกำแพงแสน
คำขวัญอำเภอ
เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐมพีแห่งความร่มเย็น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้ไขต้นฉบับ]
อำเภอกำแพงแสนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 204 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ทุ่งกระพังโหม | (Thung Kraphanghom) | 7 หมู่บ้าน | 9. | สระพัฒนา | (Sa Phatthana) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
2. | กระตีบ | (Kratip) | 8 หมู่บ้าน | 10. | ห้วยหมอนทอง | (Huai Mon Thong) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ทุ่งลูกนก | (Thung Luk Nok) | 23 หมู่บ้าน | 11. | ห้วยม่วง | (Huai Muang) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ห้วยขวาง | (Huai Khwang) | 21 หมู่บ้าน | 12. | กำแพงแสน | (Kamphaeng Saen) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ทุ่งขวาง | (Thung Khwang) | 10 หมู่บ้าน | 13. | รางพิกุล | (Rang Phikun) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
6. | สระสี่มุม | (Sa Si Mum) | 24 หมู่บ้าน | 14. | หนองกระทุ่ม | (Nong Krathum) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
7. | ทุ่งบัว | (Thung Bua) | 11 หมู่บ้าน | 15. | วังน้ำเขียว | (Wang Nam Khiao) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
8. | ดอนข่อย | (Don Khoi) | 16 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้ไขต้นฉบับ]
ท้องที่อำเภอกำแพงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งกระพังโหมและตำบลกำแพงแสน
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระพังโหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระพังโหม (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระตีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระตีบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลูกนกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่มุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่มุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนข่อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหมอนทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงแสน (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรางพิกุลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียวทั้งตำบล
ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 115,119 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 55,936 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 59,183 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 295 คน/ตร.กม.
เมืองเก่ากำแพงแสน[แก้ไขต้นฉบับ]
เมืองกำแพงแสนเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองนครชัยศรี แต่มีขนาดเล็กกว่ากันมาก ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือตามถนนมาลัยแมนประมาณ 24 กิโลเมตร ปัจจุบันใช้เป็นค่ายลูกเสือ ของจังหวัด เมืองกำแพงแสนมีลักษณะรูปร่างเกือบกลม คือ มีความกว้างประมาณ 757 เมตร และความยาวในแนวเหนือ-ใต้ ประมาณ 803 เมตร รวมเนื้อที่ประมาณ 315 ไร่ ตัวเมืองมีคูน้ำและคันดิน (กำแพงแสน) ล้อมรอบ โดยคูเมืองมีความกว้างประมาณ 30 เมตร รวมความยาว รอบตัวเมืองประมาณ 2.75 กิโลเมตร ด้านทิศ เหนือ มีลำน้ำขนาดใหญ่ คือ ลำน้ำห้วยยางไหลผ่าน (ปัจจุบันเรียกคลองท่าสาร-บางปลา) ในสมัยทวารวดีเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และยังตั้งอยู่ กึ่งกลางระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองอู่ทองและเมืองนครไชยศรี ภายในตัวเมือง ไม่มีซากโบราณสถานใดๆ หลงเหลืออยู่ นอกจากเนินดินหลายแห่ง และสระน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีคูน้ำชั้นในกว้างประมาณ 10 เมตร ส่วนโบราณวัตถุมีการขุดพบและบางส่วนเก็บไว้ที่ วัดกำแพงแสน
อาณาเขตติดต่อ[แก้ไขต้นฉบับ]
อาณาเขตติดต่อ
อำเภอกำแพงแสนเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดนครปฐม ห่างจากตัวเมือง 26 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดจังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศใต้ ติดอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
- ทิศตะวันออก ติดอำเภอบางเลนและอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
- ทิศตะวันตก ติดจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี
บางหว้า แผ่นใสขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีขาวขุ่ […]