ตำบลไทรงาม แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลไทรงาม แซนวิช พีย […]
Category Archives: ตำบลไทรงาม
ตำบลไทรงาม
ตำบลไทรงาม is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
อำเภอบางเลน
อำเภอบางเลน
|
|
---|---|
คำขวัญ: แหล่งข้าวอุดมดี มากมีเป็ดปลา วัฒนธรรมล้ำค่า งามตาท่าจีน |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°1′18″N 100°9′56″E | |
อักษรไทย | อำเภอบางเลน |
อักษรโรมัน | Amphoe Bang Len |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 588.836 ตร.กม. (227.351 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 93,862 |
• ความหนาแน่น | 159.40 คน/ตร.กม. (412.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73130, 73190 (เฉพาะตำบลบางหลวงและหินมูล) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7305 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอบางเลน เลขที่ 1/1 หมู่ที่ 8 ถนนพลดำริห์ ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130 |
บางเลน เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางเลนเป็นอำเภอที่อยู่ไกลจากที่ตั้งจังหวัดมากที่สุด โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง (จังหวัดสุพรรณบุรี) และอำเภอลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และอำเภอไทรน้อย (จังหวัดนนทบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอนครชัยศรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอดอนตูมและอำเภอกำแพงแสน
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางเลนตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2439 แต่ดั้งเดิมนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ที่ว่าการอำเภอเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางไผ่นารถ ใกล้บริเวณวัดบางไผ่นารถ ตำบลบางไทรป่า ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางไผ่นารถ ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปลา ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางปลา ภายหลังอำเภอบางปลาแบ่งการปกครองเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลบางปลาและตำบลบางเลน
ในปี พ.ศ. 2479 ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอมาที่ตำบลบางเลน (อยู่บริเวณตลาดเก่าในปัจจุบัน) ปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางปลาเป็น อำเภอบางเลน[1] ครั้นถึง พ.ศ. 2521 หลวงพ่อกิติวุฒโทแห่งจิตตภาวันวิทยาลัยซื่งเป็นชาวบางเลน ได้มอบที่ดินมรดกของท่านไห้ทางราชการและได้บริจาคเงินก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน มาตั้งอยู่ริมถนนพลดำริห์ ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลบางเลน จนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีนายยุทธนา โพธิวิหค ดำรงตำแหน่งนายอำเภอบางเลนคนปัจจุบัน [2]
ส่วนนี้หลังตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึงปัจจุบัน (รายปี)
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลขุนศรี แยกออกจากตำบลบางภาษี และตำบลลำพญา ตั้งตำบลดอนตูม แยกออกจากตำบลบางเลน และตำบลบางปลา ตั้งตำบลหินมูล แยกออกจากตำบลบางไทรป่า ตำบลดอนข่อย ตำบลบางเลน และตำบลบางหลวง ตั้งตำบลนราภิรมย์ แยกออกจากตำบลลำพญา และตำบลบางระกำ[3]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางหลวง[4]
- วันที่ 17 มีนาคม 2502 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเลน ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเลนและตำบลบางไทรป่า[5]
- วันที่ 2 พฤษภาคม 2502 ได้โอนพื้นที่ตำบลขุนศรี อำเภอบางเลน ไปขึ้นกับอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี[6]
- วันที่ 9 กันยายน 2502 เปลี่ยนแปลงพื้นที่ ตำบลสระสี่มุม ตำบลกระตีบ และบางส่วนของตำบลดอนข่อย (หมู่ 1-4, 6-10 ในขณะนั้น) ของอำเภอบางเลน ไปขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[7]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2502 เปลี่ยนแปลงพื้นที่ตำบลดอนข่อย โดยท้องที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของอำเภอกำแพงแสน มาขึ้นกับตำบลหินมูล อำเภอบางเลน[8]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลรางกระทุ่ม ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางภาษี[9]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลลำพญา ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำพญา[10]
- วันที่ 20 ธันวาคม 2505 ตั้งตำบลไทรงาม แยกออกจากตำบลบางไทรป่า[11]
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2507 ตั้งตำบลนิลเพชร แยกออกจากตำบลบัวปากท่า และ ตั้งตำบลคลองนกกระทุง แยกออกจากตำบลบางภาษี[12]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลไผ่หูช้าง แยกออกจากตำบลหินมูล[13]
- วันที่ 21 กรกฎาคม 2526 ขยายเขตสุขาภิบาลบางเลนให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น[14]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางเลน สุขาภิบาลบางหลวง สุขาภิบาลรางกระทุ่ม และสุขาภิบาลลำพญา เป็นเทศบาลตำบลบางเลน เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม และเทศบาลตำบลลำพญาตามลำดับ
- วันที่ 15 กันยายน 2554 ได้แยกพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 4, 5, 12 ตำบลบางภาษี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ไปรวมกับท้องที่เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 6, 12 ตำบลบางภาษี ในเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม ไปรวมกับท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี[15] และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม[16]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางเลนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 180 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางเลน | (Bang Len) | 12 หมู่บ้าน | 9. | ดอนตูม | (Don Tum) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | บางปลา | (Bang Pla) | 13 หมู่บ้าน | 10. | นิลเพชร | (Ninlaphet) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | บางหลวง | (Bang Luang) | 21 หมู่บ้าน | 11. | บัวปากท่า | (Bua Pak Tha) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บางภาษี | (Bang Phasi) | 13 หมู่บ้าน | 12. | คลองนกกระทุง | (Khlong Nok Krathung) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | บางระกำ | (Bang Rakam) | 15 หมู่บ้าน | 13. | นราภิรมย์ | (Naraphirom) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | บางไทรป่า | (Bang Sai Pa) | 10 หมู่บ้าน | 14. | ลำพญา | (Lam Phaya) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
7. | หินมูล | (Hin Mun) | 11 หมู่บ้าน | 15. | ไผ่หูช้าง | (Phai Hu Chang) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
8. | ไทรงาม | (Sai Ngam) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางเลนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเลนและตำบลบางไทรป่า
- เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางหลวง
- เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางภาษี
- เทศบาลตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลลำพญา
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเลน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเลน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางภาษี (นอกเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทรป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไทรป่า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเลน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินมูลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไทรงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิลเพชรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวปากท่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวปากท่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนกกระทุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนราภิรมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนราภิรมย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพญา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำพญา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หูช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่หูช้างทั้งตำบล
โรงเรียนในอำเภอ[แก้]
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนบางเลนวิทยา
- โรงเรียนสถาพรวิทยา
- โรงเรียนบัวปากท่าวิทยา
- โรงเรียนบางหลวงวิทยา
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนวัดเกษมสุริยัมนาจ
- โรงเรียนบ้านคลองพระมอพิสัย
- โรงเรียนบ้านบางเลน
- โรงเรียนวัดผาสุการาม
- โรงเรียนวัดบางไผ่นารถ
- โรงเรียนวัดบัวปากท่า
- โรงเรียตลาดเจริญสุข
- โรงเรียนวัดบอนใหญ่
- โรงเรียนวัดบัวหวั่น
- โรงเรียนวัดนราภิรมย์
- โรงเรียนวัดนิลเพชร
- โรงเรียนหนองปรงกาญจนา
- โรงเรียนวัดลานคา
- โรงเรียนวัดเกาะแรต
- โรงเรียนตลาดเกาะแรต
- โรงเรียนตลาดรางกระทุ่ม
- โรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล
- โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 4 (โรงเรียนปัญญาถาปนกิจอุปถัมป์)
- โรงเรียนวัดโพธิ์
- โรงเรียนวัดไผ่จระเข้
- โรงเรียนวัดเกษตรตราราม
- โรงเรียนบ้านหนองปรงกาญจนา
- โรงเรียนวัดไผ่สามตำลึง
- โรงเรียนบ้านไผ่ล้อม
- โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง
- โรงเรียนวัดดอนยอ
- โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
- โรงเรียนบ้านคลองนกกระทุง
- โรงเรียนบ้านรางปลาหมอ
- โรงเรียนวัดบึงลาดสวาย
- โรงเรียนโรงเรียนเอกชนสามัญศึกษา
- โรงเรียนเจี้ยนหัว
- โรงเรียนอนุบาลแสงอรุณ
- โรงเรียนเซนต์แอนด์รูว์