Category Archives: อำเภอสามพราน

อำเภอสามพราน

อำเภอสามพราน is the position for activity in post to presented  1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.

จังหวัดนครปฐม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

“นครปฐม” เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ นครปฐม (แก้ความกำกวม)
จังหวัดนครปฐม
ตราประจำจังหวัดนครปฐม
ตราประจำจังหวัด
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม
ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี
พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย นครปฐม
อักษรโรมัน Nakhon Pathom
ผู้ว่าราชการ ชาญนะ เอี่ยมแสง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 2,168.327 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 66)
ประชากร 917,053 คน[2] (พ.ศ. 2561)
(อันดับที่ 25)
ความหนาแน่น 422.93 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 8)
ISO 3166-2 TH-73
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ต้นไม้ จัน
ดอกไม้ แก้ว
สัตว์น้ำ กุ้งก้ามกราม
ศาลากลางจังหวัด
ที่ตั้ง ภายในศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ถนนบางเตย-ดอนยายหอม ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์ 0 3434 0003-4
โทรสาร 0 3434 0003-4
เว็บไซต์ จังหวัดนครปฐม
แผนที่
ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครปฐมเน้นสีแดง

เกี่ยวกับภาพนี้
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก

ประวัติ[แก้]

นครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น[3]

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม”

ภูมิศาสตร์[แก้]

จังหวัดนครปฐมตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยหน่วยงานบางแห่ง เช่น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้จังหวัดนครปฐมอยู่ภาคตะวันตก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 พิลิปดา เส้นลองจิจูดที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 พิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร

จังหวัดที่ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

แผนที่อำเภอในจังหวัดนครปฐม

การปกครองส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครปฐม แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ ประกอบด้วย 106 ตำบล และ 930 หมู่บ้าน โดยอำเภอต่าง ๆ มีดังนี้

  1. อำเภอเมืองนครปฐม
  2. อำเภอกำแพงแสน
  3. อำเภอนครชัยศรี
  4. อำเภอดอนตูม
  5. อำเภอบางเลน
  6. อำเภอสามพราน
  7. อำเภอพุทธมณฑล
ลำดับ อำเภอ ประชากร
(พ.ศ. 2560)
1 อำเภอเมืองนครปฐม 280,695
2 อำเภอกำแพงแสน 129,548
3 อำเภอนครชัยศรี 111,475
4 อำเภอดอนตูม 48,788
5 อำเภอบางเลน 93,862
6 อำเภอสามพราน 211,223
7 อำเภอพุทธมณฑล 41,462
รวม 917,053

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พื้นที่จังหวัดนครปฐมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 117 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 92 แห่ง[4]

เขตเทศบาลในจังหวัดนครปฐม

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดนครปฐม
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร
สิ้นปี 2561
(คน)[5]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1   เทศบาลนครนครปฐม 19.85 2542 เมืองนครปฐม 1 8 9 75,955
เทศบาลเมือง
2 (1)   เทศบาลเมืองสามพราน 8.15 2551[6] สามพราน 4 4 17,622
3 (2)   เทศบาลเมืองไร่ขิง 25.40 2551[7] สามพราน 1 1 32,094
4 (3)   เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม 10.90 2551[8] สามพราน 1 1 27,080
5 (4)   เทศบาลเมืองนครปฐม 22.20 2556[9] เมืองนครปฐม 1 1 13,766
6 (5)   เทศบาลเมืองสามควายเผือก 14.72 2562[10] เมืองนครปฐม 1 1 10,837
เทศบาลตำบล
7 (1)   เทศบาลตำบลดอนยายหอม 4.64 2542 เมืองนครปฐม 1 1 6,526
8 (2)   เทศบาลตำบลธรรมศาลา 3.64 2542 เมืองนครปฐม 1 1 7,153
9 (3)   เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ 14.80 2542 เมืองนครปฐม 1 1 10,844
10 (4)   เทศบาลตำบลกำแพงแสน 2542 กำแพงแสน 2 2 7,041
11 (5)   เทศบาลตำบลนครชัยศรี 4.54 2542 นครชัยศรี 5 5 8,261
12 (6)   เทศบาลตำบลห้วยพลู 2542 นครชัยศรี 1 1 2,196
13 (7)   เทศบาลตำบลสามง่าม 2542 ดอนตูม 2 2 13,929
14 (8)   เทศบาลตำบลบางเลน 16.14 2542 บางเลน 2 2 8,383
15 (9)   เทศบาลตำบลบางหลวง 2542 บางเลน 1 1 2,167
16 (10)   เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม 6.08 2542 บางเลน 1 1 2,209
17 (11)   เทศบาลตำบลลำพญา 4.00 2542 บางเลน 1 1 1,961
18 (12)   เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ 12.00 2542 สามพราน 1 1 2 23,988
19 (13)   เทศบาลตำบลศาลายา 13.50 2542 พุทธมณฑล 1 1 11,071
20 (14)   เทศบาลตำบลคลองโยง 31.63 2550 พุทธมณฑล 1 1 10,306
21 (15)   เทศบาลตำบลบางกระทึก 12.85 2551 สามพราน 1 1 12,619
22 (16)   เทศบาลตำบลมาบแค 20.15 2555 เมืองนครปฐม 1 1 8,591
23 (17)   เทศบาลตำบลบ่อพลับ 4.90 2555 เมืองนครปฐม 1 1 9,331
24 (18)   เทศบาลตำบลขุนแก้ว 10.80 2556 นครชัยศรี 1 1 7,880

  1.  หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[แก้]

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระยาศิริชัยสุรินทร์ ไม่ทราบข้อมูล
2 พระยาศรีวิชัย ไม่ทราบข้อมูล
3 พระยาภูมิพิชัย ไม่ทราบข้อมูล
4 พระยาสำราญนฤปกิจ ไม่ทราบข้อมูล
5 พระยาจินดารักษ์ ไม่ทราบข้อมูล
6 พระยาศรีสุทัศน์ ไม่ทราบข้อมูล
7 พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา พ.ศ. 2474 – พ.ศ. 2476
8 พระยาพิพิธอำพล พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2478
9 พระอรรถนิพนธ์ปรีชา พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2478
10 พระกล้ากลางสมร พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2479
11 พระณรงฤทธี พ.ศ. 2479 – พ.ศ. 2480
12 หลวงประสิทธิบุรีรักษ์ พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2482
13 หลวงนรกิจบริหาร พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2482
14 หลวงประชากรบริรักษ์ พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2487
15 นายทวี แรงขำ พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2488
16 นายอรรถสิทธิ สิทธิสุนทร 15 พฤษภาคม 2488 – 29 กุมพาพันธ์ 2490
17 ขุนนครรัฐเขต 1 มีนาคม 2490 – 21 ธันวาคม 2490
18 ขุนไมตรีประชารักษ์ 1 มกราคม 2491 – 20 มีนาคม 2494
19 นายแม้น อรจันทร์ 3 เมษายน 2494 – 31 ธันวาคม 2494
20 นายพยุง ตันติลีปิกร 8 มกราคม 2495 – 3 เมษายน 2496
21 ขุนคำณวนวิจิตร 3 เมษายน 2496 – 31 ธันวาคม 2500
22 นายพล วงศาโรจน์ 9 เมษายน 2501 – 26 ตุลาคม 2510
23 นายดำรง สุนทรศารทูล 26 ตุลาคม 2510 – 1 ตุลาคม 2513
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
24 นายประพจน์ เลขะรุจิ 1 ตุลาคม 2513 – 16 กรกฎาคม 2518
25 นายคล้าย จิตพิทักษ์ 16 กรกฎาคม 2518 – 1 ตุลาคม 2520
26 นายเจริญ ธำรงเกียรติ 1 ตุลาคม 2520 – 1 ตุลาคม 2524
27 นายสมพร ธนสถิตย์ 1 ตุลาคม 2524 – 30 กันยายน 2527
28 นายสุชาติ พัววิไล 1 ตุลาคม 2527 – 30 กันยายน 2530
29 นายสุกิจ จุลลนันทน์ 1 ตุลาคม 2530 – 30 กันยายน 2534
30 นายประเวศ ต่อตระกูล 1 ตุลาคม 2534 – 30 กันยายน 2537
31 นายณัฏฐ์ ศรีวิหค 1 ตุลาคม 2537 – 30 กันยายน 2539
32 นายวิชัย ธรรมชอบ 1 ตุลาคม 2539 – 30 เมษายน 2540
33 นายสุชาญ พงษ์เหนือ 1 พฤษภาคม 2540 – 30 กันยายน 2542
34 นายมานิต ศิลปอาชา 1 ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2544
35 นายนาวิน ขันธหิรัญ 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2547
36 นายประสาท พงษ์ศิวาภัย 1 ตุลาคม 2547 – 30 กันยายน 2549
37 นายปรีชา บุตรศรี 13 พฤศจิกายน 2549 – 30 กันยายน 2550
38 นายชนินทร์ บัวประเสริฐ 1 ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2552
39 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2553
40 นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2554
41 นายนิมิต จันทน์วิมล 13 มกราคม 2555 – 30 กันยายน 2555
42 นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ 8 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2557
43 นายชาติชาย อุทัยพันธ์ 3 พฤศจิกายน 2557 – 30 กันยายน 2559
44 นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
45 นายชาญนะ เอี่ยมแสง 1 ตุลาคม 2560 – ปัจจุบัน
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดนครปฐม
ปี ประชากร ±%
2549 820,704
2550 830,970 +1.3%
2551 843,599 +1.5%
2552 851,426 +0.9%
2553 860,246 +1.0%
2554 866,064 +0.7%
2555 874,616 +1.0%
2556 882,184 +0.9%
2557 891,071 +1.0%
2558 899,342 +0.9%
2559 905,008 +0.6%
2560 911,492 +0.7%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[11]

สถานศึกษา[แก้]

ระดับอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ระดับอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม
  • วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
  • วิทยาลัยสารพัดช่างนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า
  • การอาชีพพุทธมณฑล
  • กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สังกัด อาชีวศึกษามหานคร
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม
โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครปฐม

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดไร่ขิง
  • วัดพระประโทน
  • วัดดอนยายหอม
  • วัดไร่แตงทอง
  • วัดหนองพงนก
  • วัดกลางบางพระ
  • ถนนชมพูพันธุ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ (ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ ด้านพระศิลาขาว)
  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก
  • เจษฎา เทคนิค มิวเซียม (Jesada Technik Museum)
  • วู้ดแลนด์ เมืองไม้ (Woodland Museum & Resort) อำเภอนครชัยศรี

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศาสนา
บันเทิง
กีฬา
นางงาม

แผ่นโปร่งแสง ขาวขุ่น ยาว 6.40 เมตร

แผ่นโปร่งแสง ขาวขุ่น 6.40 เมตร  แผ่นโปร่งแสง ขาวขุ่น 6. […]

แผ่นลอนฝ้า-ลอนผนัง น้ำเงิน

แผ่นลอนฝ้า-ลอนผนัง น้ำเงิน แผ่นลอนฝ้า-ลอนผนัง น้ำเงิน เ […]

หลังคาเมทัลชีท หนา 0.30 สีอะลูซิงค์

หลังคาเมทัลชีท หนา 0.30 สีอะลูซิงค์ หลังคาเมทัลชีท หนา […]

ตำบลไร่ขิง แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลไร่ขิง แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลไร่ขิง แซนวิช พีย […]

ตำบลอ้อมใหญ่ แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลอ้อมใหญ่ แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลอ้อมใหญ่ แซนวิช […]

ตำบลหอมเกร็ด แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลหอมเกร็ด แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลหอมเกร็ด แซนวิช […]

ตำบลสามพราน แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลสามพราน แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลสามพราน แซนวิช พ […]

ตำบลยายชา แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลยายชา แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลยายชา แซนวิช พียู […]

ตำบลบ้านใหม่ แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลบ้านใหม่ แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลบ้านใหม่ แซนวิช […]

ตำบลบางเตย แซนวิช พียู โฟม หลังคา

ตำบลบางเตย แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลบางเตย แซนวิช พีย […]

Call Now Button