ถนนเจริญกรุง แซนวิช พียู โฟม หลังคา ถนนเจริญกรุง แซนวิช […]
Category Archives: ถนนเจริญกรุง
ถนนเจริญกรุง
ถนนเจริญกรุง is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
เขตบางรัก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
เขตบางรัก
|
|
---|---|
คำขวัญ: เขตเศรษฐกิจแท้จริง โซนนิงสถานบริการ ถิ่นตำนานแห่งความรัก ย่านที่พักโรงแรมหรู แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดัง บางรัก บาง…รักประชาชน |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′51″N 100°31′27″E | |
อักษรไทย | เขตบางรัก |
อักษรโรมัน | Khet Bang Rak |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5.54 ตร.กม. (2.14 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 48,207[1] |
• ความหนาแน่น | 8,701.62 คน/ตร.กม. (22,537.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10500 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1004 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 5 ถนนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/bangrak |
เขตบางรัก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีถนนพระรามที่ 4 ฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทร มีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
สัญลักษณ์[แก้]
- ตราประจำเขตบางรัก เป็น รูปกังหันลมสีเหลืองบนพื้หลังสีม่วง รูปกังหันลม 5 แฉก สื่อถึง โรงสีซึ่งในอดีตมีมากบนถนนสีลมซึ่งเป็นที่มาของชื่อถนนสีลม แฉกทั้ง 5 สื่อถึงแขวง 5 แขวงในเขตบางรัก
- ดอกไม้ประจำเขตบางรัก คือ ดอกรัก ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของที่มาของชื่อเขตบางรัก
- สีประจำเขตบางรัก คือ สีม่วง
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
มีการสันนิษฐานที่มาไว้หลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อแรกที่ว่าบริเวณเขตบางรักนี้เคยมีคลองเล็ก ๆ ที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และมีผู้พบซุงไม้รักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่า “บางรัก” หรืออีกกระแสหนึ่งที่เชื่อว่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ
บ้างก็ว่าชื่อบางรักนั้นมาจากโรงหมอหรือโรงพยาบาลในสมัยนั้นซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่สำคัญของอำเภอ จึงได้ชื่อว่าเป็น “อำเภอบางรักษ์” และเรียกเพี้ยนมาเป็น “บางรัก” อย่างในปัจจุบัน ส่วนที่มาสุดท้ายเชื่อกันว่า เดิมเขตบางรักในอดีตเรียกกันว่าคลองบางขวางล่างใต้ เป็นย่านที่มีคนมากมายหลากหลายอาชีพทั้งกะลาสีลูกเรือฝรั่งต่างชาติอยู่รวมกัน เป็นแหล่งกินแหล่งเที่ยวที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตายบ่อยครั้ง ชาวบ้านในแถบนั้นจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่า “บางรัก” แทนชื่อเดิม
บางรักในวันนี้ก็ถือเป็นชื่อที่เป็นมงคลเกี่ยวกับเรื่องความรัก จนทำให้ในวันวาเลนไทน์ของทุกปี มักจะมีคนไปจดทะเบียนกันที่เขตบางรักมากเป็นพิเศษเพราะเชื่อกันว่าจะมีความรักสดชื่นสดใสเหมือนชื่อเขต โดยที่มีตำนานหลายอย่างเกียวกับชื่อบางรักเช่นเคยมีต้นรักเยอะหรือมีโรงพยาบาลแปลงมาจากคำว่า’รักษา’เป็นต้น
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางรัก ก่อตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในวันที่ 5 มิถุนายน ร.ศ. 127 หรือ พ.ศ. 2450 โดยรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล และเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ
ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางรักแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
แขวงมหาพฤฒาราม | Maha Phruettharam |
0.889
|
11,243
|
6,442
|
12,646.79
|
แขวงสีลม | Si Lom |
2.074
|
18,231
|
12,229
|
8,790.26
|
แขวงสุริยวงศ์ | Suriyawong |
0.820
|
5,258
|
4,915
|
6,412.19
|
แขวงบางรัก | Bang Rak |
0.689
|
2,806
|
1,446
|
4,072.56
|
แขวงสี่พระยา | Si Phraya |
1.064
|
10,669
|
7,013
|
10,027.25
|
ทั้งหมด |
5.540
|
48,207
|
32,045
|
8,701.62
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางรัก[2] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก
- จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์
- บ้านสีลม
- สีลม คอมเพล็กซ์
- ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่
- ซอยละลายทรัพย์
สถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรม[แก้]
- โรงแรมดุสิตธานี
- โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ
- โรงแรม ดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ
- โรงแรมแชงการีลา
- ตึกเก่าศุลกสถาน
- ตึกเก่าอาคาร อีสต์ เอเชียติก
- บ้านสาทร
- พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
- ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC Bangkok)
- อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก
- คิง เพาเวอร์ มหานคร
- ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์
สถานทูต[แก้]
- สถานทูตกรีซ
- สถานทูตคาซัคสถาน
- สถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย
- สถานทูตเบลเยียม
- สถานทูตแคนาดา
- สถานทูตซาอุดิอาระเบีย
- สถานทูตโปรตุเกส
- สถานทูตฝรั่งเศส
- สถานทูตเมียนมา
สถาบันทางการศึกษา[แก้]
- โรงเรียนพุทธจักรวิทยา
- โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม
- โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเอกชนชายล้วนซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรก และ โรงเรียนคริสเตียนแห่งแรกในประเทศไทย
- โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเอกชนชายล้วนซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การดูแลของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนเอกชนสตรี ภายใต้การดูแลของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร
- โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา โรงเรียนเอกชนสตรี ภายใต้การดูแลของมิสซังคาทอลิกแห่งกรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โรงเรียนเอกชนสตรี ภายใต้การดูแลของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร จากประเทศฝรั่งเศส
- โรงเรียนปวโรราฬ
- โรงเรียนกว่างเจ้า
- โรงเรียนวัดหัวลำโพง
- มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะ ICT
- สถาบันสอนการประกอบอาหาร เลอ กอร์ดอง เบลอ
- วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา
สถานพยาบาล[แก้]
- โรงพยาบาลเลิดสิน
- โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
- โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- โรงพยาบาลมเหสักข์
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
ศาสนสถาน[แก้]
วัด[แก้]
- วัดมหาพฤฒาราม
- วัดม่วงแค
- วัดสวนพลู
- วัดแก้วแจ่มฟ้า
- วัดหัวลำโพง
โบสถ์ และคริสตจักร[แก้]
- อาสนวิหารอัสสัมชัญ และ มิสซังโรมันคาทอลิกแห่งกรุงเทพมหานคร
- โบสถ์เซนต์โยเซฟ
- คริสตจักรสัจจศึกษา
- คริสตจักรสะพานเหลือง
- คริสจักรสืบสัมพันธ์
- คริสตจักรเย็นเฮย์เม็มโมเรียล
- คริสตจักรที่ 2
มัสยิด[แก้]
- มัสยิดบ้านอู่
- มัสยิดฮารูณ มัสยิดแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร
- มัสยิดมิตรภาพไทย-ปากีสถาน
- มัสยิดนูรุ้ลนะซีฮะห์
- มัสยิดบูรัลนะซีฮาร์
ศาสนสถานอื่น ๆ[แก้]
- วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก)
- ศาลเจ้าปุ้นเถ้ากง ถนนมหานคร
- ศาลเจ้าชิดเซียม้า เจริญกรุง 39
- ศาลเจ้าอ้วงเอี้ย ซอยสะพานเตี้ย
- ศาลเจ้าเจียวเอ็งเนี้ยว เจริญกรุง 44
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางรัก ได้แก่
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
- ถนนสี่พระยา
- ถนนสุรวงศ์
- ถนนนเรศ
- ถนนทรัพย์
- ถนนมหาเศรษฐ์
- ถนนมเหสักข์
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
- สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ สถานีศาลาแดง และ สถานีสะพานตากสิน ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
- สถานีสาทร ของรถโดยสารด่วนพิเศษสายสาทร-ราชพฤกษ์
- สถานีสีลม ของรถไฟฟ้ามหานคร
- เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าสาทร ท่าโอเรียนเต็ล ท่าวัดม่วงแค
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
22 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิด 5 ครั้งบริเวณถนนสีลม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. รวมตัวการชุมนุมอยู่แยกศาลาแดงฝั่งถนนสีลม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ โดยเสียงระเบิดดังขึ้น 3 ครั้ง ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง เสียงระเบิดทำให้ประชาชนที่อยู่บนสถานีและกลุ่มต่อต้าน นปช. เกิดความโกลาหล ระเบิดลูกที่ 4 ได้ระเบิดขึ้นบริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานี ใต้ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (สกายวอล์ก) ต่อมา เวลา 20.45 น. ระเบิดลูกที่ 5 ก็ระเบิดขึ้นที่หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาศาลาแดง
7 พฤษภาคม เวลา 22.45 น. บริเวณแยกศาลาแดง เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนเฝ้าที่หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย อาคารซูลิก เฮ้าส์ ถนนสีลม ทำให้กระจกหน้าธนาคารกรุงไทย ใกล้ตู้เอทีเอ็ม แตก 1 บาน มีรอยร้าว มีรูกระสุน 1 รู มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[ต้องการอ้างอิง] ทั้งหมดถูกนำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม