Category Archives: ตำบลแหลมบัว

ตำบลแหลมบัว

ตำบลแหลมบัว is the position for activity in post to presented  1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.

อำเภอนครชัยศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

ความหมายอื่น ดูที่ มณฑลนครชัยศรี

อำเภอนครชัยศรี
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอนครชัยศรี
คำขวัญ: ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′4″N 100°16′18″E
อักษรไทย อำเภอนครชัยศรี
อักษรโรมัน Amphoe Nakhon Chai Si
จังหวัด นครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด 284.031 ตร.กม. (109.665 ตร.ไมล์)
ประชากร (2561)
 • ทั้งหมด 111,475
 • ความหนาแน่น 392.47 คน/ตร.กม. (1,016.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73120
รหัสภูมิศาสตร์ 7303
ที่อยู่
ที่ว่าการ
ที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี เลขที่ 7
หมู่ที่ 1 ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครชัยศรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีเรื่องราวบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในบริเวณอำเภอนครชัยศรี ปัจจุบันนครชัยศรีนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอนครชัยศรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่อำเภอนครชัยศรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองนครชัยศรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111) โปรดให้สร้างเมืองใหม่ แขวงเมืองราชบุรีจึงถูกแบ่งพื้นที่บางส่วนรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี เพื่อรองรับพลเมืองไทยที่หนีสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089) ไปอยู่ตามป่าเขา ให้กลับเข้ามาเป็นกำลังของพระนครยามมีศึก โดยมีตัวเมืองอยู่ใต้ปากคลองบางแก้ว (ห่างจากตัวอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร) เดิมนั้นสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้โอนไปสังกัดกรมท่า

ครั้นเมื่อมีการปรับปรุงการปกครองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2437 ในรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น และจัดรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองนครชัยศรีได้โอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และตั้งมณฑลขึ้นโดยรวมเมืองนครชัยศรี สมุทรสาคร และสุพรรณบุรีไว้ในมณฑลเดียวกัน เรียกว่า มณฑลนครชัยศรี มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองนครชัยศรี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยุบมณฑลนครชัยศรีลง เมืองนครชัยศรีเดิมถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอนครชัยศรี ขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม

ส่วนนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึงปัจจุบัน (รายปี)

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลวัดแค แยกออกจากตำบลนครชัยศรี และตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลท่าเรือ แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลวัดสำโรง แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลดอนแฝก แยกออกจากตำบลห้วยพลู ตั้งตำบลบางแก้วฟ้า แยกออกจากตำบลห้วยพลู และตำบลบางพระ ตั้งตำบลวัดละมุด แยกออกจากตำบลบางพระ ตั้งตำบลศรีมหาโพธิ์ แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลแหลมบัว แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลท่าพระยา แยกออกจากตำบลศีรษะทอง ตั้งตำบลพะเนียด แยกออกจากตำบลศีรษะทอง ตั้งตำบลโคกพระเจดีย์ แยกออกจากตำบลบางระกำ ตั้งตำบลท่ากระชับ แยกออกจากตำบลบางแก้ว ตั้งตำบลท่าตำหนัก แยกออกจากตำบลบางแก้ว ตั้งตำบลบางกระเบา แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลขุนแก้ว แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลไทยาวาส แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลมหาสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลงิ้วราย ตั้งตำบลคลองโยง แยกออกจากตำบลศาลายา และตำบลห้วยพลู[1]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี ในพื้นที่บางส่วนของตำบลวัดแค ตำบลนครชัยศรี ตำบลบางกะเบา และตำบลท่าตำหนัก[2]
  • วันที่ 14 กันยายน 2522 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู ในพื้นที่บางส่วนตำบลห้วยพลู[3]
  • วันที่ 1 มกราคม 2527 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 (ที่มีพื้นที่อยู่ในพุทธมณฑล) ของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี (ในขณะนั้น) [4]
  • วันที่ 1 เมษายน 2534 แยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และตำบลมหาสวัสดิ์ออกมาจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอพุทธมณฑล โดยให้ขึ้นกับอำเภอนครชัยศรี[5]
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอพุทธมณฑลเป็นอำเภอพุทธมณฑล[6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครชัยศรีและสุขาภิบาลห้วยพลู เป็นเทศบาลตำบลนครชัยศรีและเทศบาลตำบลห้วยพลูตามลำดับ

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอนครชัยศรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 ตำบล 108 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นครชัยศรี (Nakhon Chai Si) 3 หมู่บ้าน 13. แหลมบัว (Laem Bua) 8 หมู่บ้าน
2. บางกระเบา (Bang Krabao) 3 หมู่บ้าน 14. ศรีมหาโพธิ์ (Si Maha Pho) 5 หมู่บ้าน
3. วัดแค (Wat Khae) 4 หมู่บ้าน 15. สัมปทวน (Sampathuan) 6 หมู่บ้าน
4. ท่าตำหนัก (Tha Tamnak) 4 หมู่บ้าน 16. วัดสำโรง (Wat Samrong) 4 หมู่บ้าน
5. บางแก้ว (Bang Kaeo) 4 หมู่บ้าน 17. ดอนแฝก (Don Faek) 4 หมู่บ้าน
6. ท่ากระชับ (Tha Krachap) 4 หมู่บ้าน 18. ห้วยพลู (Huai Phlu) 5 หมู่บ้าน
7. ขุนแก้ว (Khun Kaeo) 4 หมู่บ้าน 19. วัดละมุด (Wat Lamut) 5 หมู่บ้าน
8. ท่าพระยา (Tha Phraya) 5 หมู่บ้าน 20. บางพระ (Bang Phra) 4 หมู่บ้าน
9. พะเนียด (Phaniat) 4 หมู่บ้าน 21. บางแก้วฟ้า (Bang Kaeo Fa) 5 หมู่บ้าน
10. บางระกำ (Bang Rakam) 4 หมู่บ้าน 22. ลานตากฟ้า (Lan Tak Fa) 5 หมู่บ้าน
11. โคกพระเจดีย์ (Khok Phra Chedi) 5 หมู่บ้าน 23. งิ้วราย (Ngio Rai) 4 หมู่บ้าน
12. ศีรษะทอง (Sisa Thong) 5 หมู่บ้าน 24. ไทยาวาส (Thaiyawat) 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอนครชัยศรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 25 แห่ง ได้แก่

บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอ[แก้]

วัดในอำเภอนครชัยศรี[แก้]

ได้แก่วัดดังต่อไปนี้

โรงเรียนในอำเภอนครชัยศรี[แก้]

โรงเรียนสาธิตวิทยาโรงเรียนเพิ่มวิทยาโรงเรียนแหลมบัววิทยาโรงเรียนเดชอนุสรณ์โรงเรียนวัดบ่อตะกั่วโรงเรียน สารสาสน์วเทศนครปฐมโรงเรียนวัดกลางบางแก้วโรงเรียนวัดใหม่สุคนธารามโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์โรงเรียนวัดโคกเขมาโรงเรียนพลอยจาตุรจินดาโรงเรียนแสงทองวิทยานครชัยศรีโรงเรียนภัทรญาวิทยาโรงเรียนวัดท่าตำหนัก

โรงพยาส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล[แก้]

  1.  [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  2.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-88. 3 สิงหาคม 2499.
  3.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา96 (184 ง): 3890–3891. 30 ตุลาคม 2522.
  4.  “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสามพราน กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๒๖” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา100 (206 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. 31 ธันวาคม 2526.
  5.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพุทธมณฑล” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา108 (15 ง): (ฉบับพิเศษ) 1067. 31 มกราคม 2534.
  6.  “พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา113 (62 ก): 5–8. 20 พฤศจิกายน 2539.
  7.  watsawangarom999.blogspot.com/p/blog-page.html
  8.  http://www.bp.or.th/watbangphra/
Call Now Button