ตำบลศาลายา แซนวิช พียู โฟม หลังคา ตำบลศาลายา แซนวิช พีย […]
Category Archives: ตำบลศาลายา
ตำบลศาลายา
ตำบลศาลายา is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
อำเภอพุทธมณฑล
สำหรับสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ดูที่ พุทธมณฑล
อำเภอพุทธมณฑล
|
|
---|---|
คำขวัญ: ดินแดนธรรมะ พระปางลีลา การศึกษาก้าวหน้า พัฒนาคุณธรรม |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′7″N 100°19′18″E | |
อักษรไทย | อำเภอพุทธมณฑล |
อักษรโรมัน | Amphoe Phutthamonthon |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 76.33 ตร.กม. (29.47 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 41,462 |
• ความหนาแน่น | 543.19 คน/ตร.กม. (1,406.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7307 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล เลขที่ 199 หมู่ที่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
อำเภอพุทธมณฑล เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่และมีพื้นที่กับประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดนครปฐม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอพุทธมณฑลตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางเลน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) และเขตทวีวัฒนา (กรุงเทพมหานคร) มีคลองนราภิรมย์ คลองทวีวัฒนา และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดนครปฐมกับกรุงเทพมหานครเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน มีคลองบางกระทึก ถนนพุทธมณฑล สาย 4 และถนนสุภาพบุรุษเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนครชัยศรี มีคลองชัยขันธ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
- วันที่ 1 เมษายน 2534 จัดตั้ง กิ่งอำเภอพุทธมณฑล โดยแยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และ ตำบลมหาสวัสดิ์ จากอำเภอนครชัยศรี[1]
- วันที่ 28 สิงหาคม 2534 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายาในท้องที่บางส่วนของตำบลศาลายา[2]
- วันที่ 5 ธันวาคม 2539 ยกฐานะเป็น อำเภอพุทธมณฑล[3]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลศาลายาเป็นเทศบาลตำบลศาลายาด้วยผลของกฎหมาย[4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอพุทธมณฑลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ศาลายา | (Sala Ya) | 6 หมู่บ้าน | ||
2. | คลองโยง | (Khlong Yong) | 8 หมู่บ้าน | ||
3. | มหาสวัสดิ์ | (Maha Sawat) | 4 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอพุทธมณฑลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- ตำบลศาลายาแบ่งออกเป็นเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
- เทศบาลตำบลคลองโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโยงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ทั้งตำบล
ประชากร[แก้]
ชื่อ | ปีที่จัดตั้ง | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
เทศบาลตำบลศาลายา | 2542 | ||||
เทศบาลตำบลคลองโยง | 2550 (2538) | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ | 2539 | ||||
ทั้งหมด | 76.33 | 41,462 | 543.19 | 22,515 |
สถานศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- สถาบันกันตนา
- สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ)
- วิทยาลัยนาฏศิลป
- กองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง (โรงเรียนนายสิบตำรวจ)
- วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมป์
- โรงเรียนวัดสาลวัน
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพุทธมณฑล
- โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม
- โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล
- โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ ตั้งตรงจิตร 17
- โรงเรียนบ้านคลองโยง
- โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์
- โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์
- โรงเรียนวัดมะเกลือ (กาญจนลักษณ์วิทยา)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- พุทธมณฑล สร้างขึ้นในวาระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และยังมีพระไตรปิฎกหินอ่อนด้วย
- วัดญาณเวศกวัน วัดขนาดเล็กใกล้พุทธมณฑล เจ้าอาวาสคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
- สวนศิลปะมีเซียม ยิบอินซอย ถนนพุทธมณฑล สาย 7 เป็นสถานที่รวบรวมงานประติมากรรมของคุณมีเซียม ยิบอินซอย
- หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) หน่วยงานจัดการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม