จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
Category Archives: อำเภอบางบัวทอง
อำเภอบางบัวทอง
อำเภอบางบัวทอง
|
|
---|---|
คำขวัญ: เมืองน่าอยู่ ประตูสู่จตุรทิศ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°58′06.72″N 100°24′19.72″E | |
อักษรไทย | อำเภอบางบัวทอง |
อักษรโรมัน | Amphoe Bang Bua Thong |
จังหวัด | นนทบุรี |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 116.439 ตร.กม. (44.957 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 277,162 |
• ความหนาแน่น | 2,380.32 คน/ตร.กม. (6,165.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 11110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1204 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 |
บางบัวทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างใหญ่มากโดยคลุมพื้นที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด (ปัจจุบันแยกออกไปแล้ว) มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญจากกรุงเทพมหานครแผ่ขยายออกมาจนถึงบางบัวทอง ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรร บริษัทห้างร้าน สำนักงานจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทยอยย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่นี้ แต่ก็ยังคงเห็นท้องนาบางส่วนอยู่ นอกจากนี้ อำเภอบางบัวทองยังเป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนนทบุรีด้วย (และมีความหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3)
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางบัวทองตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาของจังหวัดนนทบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15.96 กิโลเมตร[2] มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว (จังหวัดปทุมธานี) และอำเภอปากเกร็ด มีคลองลากค้อน คลองลำโพ และแนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอบางบัวทองกับอำเภอปากเกร็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด มีคลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) แนวกำแพงหมู่บ้านลภาวัน 10 แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์พาร์ค 3 แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นบางบัวทอง คลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) และคลองบางบัวทองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางใหญ่ มีคลองบางรักใหญ่ คลองอ้อม คลองบางเดื่อ (วัดบางเดื่อ) แนวด้านหลังหมู่บ้านเกล้ารัตนา แนวเขตหมู่บ้านร่มรื่นวิลล์ แนวเขตหมู่บ้านเกล้ารัตนา แนวรั้วหมู่บ้านกฤษดานคร 10 ลำรางบางน้อย ซอยอธิเบศร์ 1 ลำรางบางน้อย แนวด้านหลังโรงเรียนอนุบาลรัตนาธิเบศร์ แนวเส้นขนานคลองบางแพรก และคลองบางแพรกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย มีคลองตาชม คลองพระพิมล คลองลากค้อน คลองตาคล้าย และคลองลัดยายเป้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
อำเภอบางบัวทองตั้งตามชื่อคลองบางบัวทอง เป็นคลองสายสำคัญซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามเกาะเกร็ด มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร เดิมพื้นที่บริเวณคลองนี้เป็นป่าละเมาะและมีต้นบัวหลวงอยู่มากมาย ต่อมามีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามริมฝั่งคลอง บุกเบิกที่ดินโดยทำไร่ทำนา และเก็บดอกบัวฝักบัวในคลองไปขายได้เงินทองมาก จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อคลองนี้
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางบัวทอง ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 มีเขตปกครองกว้างขวาง อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนนทบุรี ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บริเวณริมคลองบางบัวทอง ตรงข้ามปากคลองพระพิมล นายอำเภอคนแรกคือ หลวงพิธีผดุงชน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย และในปีเดียวกัน ทางราชการได้แยกตำบลบางแม่นาง เสาธงหิน และบ้านใหม่ออกไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางใหญ่ (ปัจจุบันคืออำเภอบางกรวย) ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอบางแม่นาง” และในเวลาต่อมาได้ตั้งเป็นอำเภอบางแม่นาง (ปัจจุบันคืออำเภอบางใหญ่) และในปี พ.ศ. 2463 กระทรวงนครบาลได้เปลี่ยนชื่อตำบลบางบัวทองเป็นตำบลอ้อมเกร็ด เปลี่ยนชื่อตำบลพระพิมลเป็นตำบลบางบัวทอง และให้โอนตำบลอ้อมเกร็ดและบางพลับไปขึ้นอยู่กับอำเภอปากเกร็ด[3]
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2486 ขณะนั้นประเทศไทยเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงโดยโอนอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี แต่ภายหลังก็โอนกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดนนทบุรีที่ได้รับการยกฐานะขึ้นมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489[4]
ปี พ.ศ. 2490 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงเขตตำบลเดิมและตั้งตำบลใหม่ โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนจากตำบลลำโพตั้งเป็นตำบลละหาร และแบ่งพื้นที่บางส่วนจากตำบลหนองเพรางายตั้งเป็นตำบลบางคูรัด[5] ส่วนในปีต่อมา ทางราชการก็ได้รวมตำบลไทรน้อย ไทรใหญ่ หนองเพรางาย และราษฎร์นิยมจัดตั้งเป็น “กิ่งอำเภอไทรน้อย” (ภายหลังยกฐานะเป็นอำเภอไทรน้อย)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่บางส่วนของตำบลบางบัวทองจัดตั้งเป็นตำบลพิมลราช[6] และในปี พ.ศ. 2529 แบ่งพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของตำบลบางรักใหญ่จัดตั้งเป็นตำบลบางรักพัฒนา[7] ท้องที่อำเภอบางบัวทองจึงประกอบด้วย 8 ตำบลจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางบัวทองแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 8 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 81 หมู่บ้าน (หรือ 73 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่
1. | โสนลอย | (Sano Loi) | 6 หมู่บ้าน | 5. | ละหาร | (Lahan) | 9 หมู่บ้าน | |||||||||||||
2. | บางบัวทอง | (Bang Bua Thong) | 14 หมู่บ้าน | 6. | ลำโพ | (Lam Pho) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||||||
3. | บางรักใหญ่ | (Bang Rak Yai) | 11 หมู่บ้าน | 7. | พิมลราช | (Phimon Rat) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||||||
4. | บางคูรัด | (Bang Khu Rat) | 10 หมู่บ้าน | 8. | บางรักพัฒนา | (Bang Rak Phatthana) | 15 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางบัวทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบางบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนลอยทั้งตำบล ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6, 7) ตำบลพิมลราช (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1-3) และตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5, 6)
- เทศบาลเมืองพิมลราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมลราช (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
- เทศบาลเมืองบางคูรัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูรัดทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองบางรักพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำโพทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302)
- ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
- ถนนบางบัวทอง-บางคูวัด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345)
- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3215)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ถนนชัยพฤกษ์ (ทางหลวงชนบท นบ.3030)
- ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย (ทางหลวงชนบท นบ.1013)
อ้างอิง
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]
จัดส่งแผ่นหลังคาเมทัลชีท; แผ่นหลังคาโปร่งแสง สีขาวขุ่น; […]